ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็น และเพียงพอสำหรับทั้งแม่และลูกน้อยในท้อง แต่ก็มีอาหารอีกหลาย ๆ อย่างที่แม่ตั้งครรภ์ควรโบกมือลาในช่วงตั้งครรภ์ มาดูกันค่ะว่ามีอะไรบ้าง
คนท้องควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะไปกระตุ้นการสูบฉีดโลหิต เพิ่มการขับปัสสาวะทำให้คุณแม่ต้องปัสสาวะบ่อยขึ้นอีก ซึ่งช่วงตั้งครรภ์ก็ปัสสาวะบ่อยอยู่แล้ว และมีผลทางอ้อมทำให้หัวใจของคุณแม่ทำงานหนักขึ้น อีกทั้งยังไปละลายแคลเซียมและเกลือแร่ในร่างกายมากขึ้นอีกด้วย รวมถึงปริมาณที่มากเกินไปอาจไปกระตุ้นให้หัวใจของลูกเต้นผิดปกติได้ด้วยค่ะ | |
คนท้องควรทานไข่ที่ปรุงสุก ไข่ต้ม ไข่เจียว ไข่ดาว เป็นต้น เพราะไข่ดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ ส่งผลให้เสี่ยงการติดเชื้อ Salmonella เป็นกลุ่มเชื้อแบคทีเรียที่สามารถทำให้ผนังลำไส้เป็นแผล และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้ค่ะ | |
คนท้องควรหลีกเลี่ยงเนื้อปลา เนื้อแดง เนื้อไก่ หรือเนื้อสัตว์ทุกชนิด ที่ยังดิบหรือปรุงไม่สุก เช่น สเต็ก อาหารปิ้งย่าง อาหารอีสาน ลาบ น้ำตก หอยนางรม กุ้งแช่น้ำปลา หรือแม้แต่ซูชิ ข้าวปั้นที่มีเนื้อปลาดิบ หรือเนื้อสัตว์ดิบทุกชนิดค่ะ | |
คนท้องไม่ควรรับประทานนมสด และชีสบางชนิดที่ไม่ผ่านกระบวนการให้ความร้อนหรือการฆ่าเชื้อ เช่น คัมมังแบร์ บลูชีสชนิดต่าง ๆ เพราะชีสเหล่านี้อาจปะปนแบคทีเรียที่ชื่อลิสทีเรีย (Listeria) ซึ่งอาจจะทำให้เป็นอันตรายต่อคุณแม่ และทารกน้อยได้ค่ะ | |
ในกรณีที่คุณพ่อ หรือคุณแม่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ ควรหลีกเลี่ยงถั่วลิสง เพราะในทางการแพทย์เชื่อว่าถั่วลิสงมีส่วนไปกระตุ้นให้โรคภูมิแพ้ผ่านไปยังทารกทางพันธุกรรมได้ | |
ไม่แนะนำให้คุณแม่ต้มบะหมี่ทานแบบที่เคยทำก่อนตั้งครรภ์ เพราะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเหล่านี้มีสารปรุงรส และผงชูรสในปริมาณสูง จะทำให้เพิ่มระดับโซเดียมหรือเกลือให้กับร่างกายเกินความจำเป็น ทำให้ระบบหมุนเวียนเลือด และระบบขับถ่ายทำงานหนัก | |
คุณแม่ไม่ควรรับประทานปลาทะเลบางชนิด เช่น ปลากระโทงแทง ปลาดาบ ปลาฉลาม ซึ่งเป็นปลาที่มีสารปรอทตามธรรมชาติในปริมาณสูงในระดับที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ แม้แต่ปลาทูน่าจัดอยู่ในปลาที่มีสารปรอทสูงเช่นกัน ควรจำกัดไม่รับประทานเกิน 2 กระป๋องต่อสัปดาห์ | |
อาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด รสเค็มจัด ส่งผลทำให้หัวใจ และไตทำงานหนักขึ้น ส่วนรสหวานจัดเพิ่มภาระให้กับตับอ่อนต้องผลิตอินซูลิน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลมากขึ้น และทำให้คุณแม่น้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้รสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด จะเพิ่มภาระให้กระเพาะต้องทำงานหนัก ทำให้ท้องอืด และเกิดภาวะกรดไหลย้อนให้คุณแม่ได้ | |
การรับประทานวิตามินเสริมในช่วงตั้งครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอก่อนนะคะ เพราะวิตามินเสริมหากได้รับมากเกินไปจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี ตับต้องทำงานหนักเพราะกำจัดพิษของวิตามินส่วนเกินออกจากร่างกาย เท่ากับเพิ่มภาระการทำงานหนักให้ตับ อีกทั้งร่างกายไม่ได้ใช้ประโยชน์จากวิตามินส่วนเกินเท่ากับเสียเงินไปซื้อมารับประทานแต่กลับไม่ได้ประโยชน์อีกด้วย ยกเว้นวิตามินบางชนิดที่จำเป็นกับลูก เช่น โฟลิค แคลเซียม คุณหมอจะสั่งให้คุณแม่รับประทานอยู่แล้วค่ะ | |
ข้อนี้คุณแม่ทุกคนทราบดีอยู่แล้วอย่างแน่นอน เพราะเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด แม้ว่าจะอยู่ในปริมาณที่เจือจางเพียงใดก็ตาม เบียร์ ไวน์ เหล้าผสม เหล้าสี เหล้าใส อาหารที่หมักดองด้วยเหล้า หรือมีส่วนผสมของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะหากคุณแม่ดื่มกินเข้าไปในปริมาณหนึ่ง ขณะตั้งครรภ์ได้สองเดือนแรกจะส่งผลให้ทารกสมองพิการแต่กำเนิดได้ รวมถึงบุหรี่ ส่งผลให้เกิดภาวะแท้งคุกคาม คลอดก่อนกำหนด ทารกมีพัฒนาการไม่สมวัย ได้นะคะ |